Wednesday, November 28, 2012

ทดลอง post ผ่าน iPad

ด้วยความพยายาม หากสามารถ post ผ่าน iPad ได้คงสะดวกมากขึ้น

Monday, November 26, 2012

การกำหนดราคาดุลยภาพและกลไกราคา

ราคาดุลยภาพ (EQuilibrium Price) คือ ระดับราคาที่ปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากัน
ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) คือ ปริมาณซื้อและปริมาณขายที่เท่ากันพอดี ณ ราคาดุลยภาพ

ดังนั้นราคาและปริมาณดุลยภาพก็คือ ระดับราคาและปริมารที่เกิดขึ้นตรงจุดที่เส้นอุปสงคืและเส้นอุปทานตัดกันนั่นเอง ซึ่งจะได้รูปดังต่อไปนี้

จากรูปข้างต้น E คือ จุดดุลยภาพ, OP0 คือ ราคาดุลยภาพ  OQ0   คือ ปริมาณดุลยภาพ

นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของกลไกราคาที่จะส่งผลต่อปริมาณซื้อและปริมาณขาย ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

1. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP1) จะเกิดผลดังนี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P1A
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P1B
         - เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) คือ ช่วง AB ทำให้มีสินค้าเหลือ เพราะขายไม่หมด
2. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP2) จะเกิดผลดงันี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P2C
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P2D
         - เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) คือ ช่วง CD ทำให้มีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ

การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาสินค้าต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลต้องเข้าไปแทรกแซงทางด้านราคา เพื่อช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงด้วยการกำหนดราคาขั้นสูงให้ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ซึ่งจะทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อมีมากกว่าจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย หรือมีอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) เกิดขึ้นนั่นเอง

ในกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณมากเกิดความต้องการในตลาด จะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง ดังนั้น รัฐบาลจึงช่วยเหลือเกษตรกรหรือปผู้ผลิตด้วยการกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ในระดับที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ หรือราคาตลาดที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการกำหนดค่าจ้างแรงงานให้สูงกว่าค่าจ้างที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อทำให้แรงงานมีอำนาจซื้อมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้ความต้องการจ้างแรงงานลดลง จนทำให้แรงงานล้นตลาดได้ ซึ่งรัฐบาลอาจแก้ไขปัญหานี้ด้วยการพยายามสร้างความต้องการจ้างแรงงาน (Demand on Labour) ให้มากขึ้น โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้
1. อาจให้สิทธิพิเศษบางประเภทแก่ผู้ประกอบการ หากมีการจ้างแรงงานมากขึ้น
2. ติดต่อตลาดแรงงานในต่างประเทศ เพื่อให้รับแรงงานไทยไปทำงานเพิ่มขึ้น
3. ลดปริมารของแรงงานไร้ทักษะด้วยการจัดอบรมฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาให้กลายเป็นแรงงานที่มีทักษะ

  

การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน

เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปทานได้เป็น 2 กรณี คือ

1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (Change in Quantity Supplied) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายในทิศทางเดียวกับราคาขาย ซึ่งปริมาณขายที่เปลี่ยนแปลงจะเคลื่อนตัวอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห็นว่า เมื่อสินค้าขายได้ในราคาต่ำ ปริมาณขายก็จะลดลงด้วย และเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม คือ จากจุด M เคลื่อนมาเป็นจุด N  บนเส้นอุปทานเดิม

2. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงราคาขาย ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นๆ(ยกเว้นราคาของสินค้าชนิดนั้น) เช่น ต้นทุนการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ เทคนิคการผลิต เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุปทานในกรณีนี้ จะมีผลทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ออกไปจากเส้นเดิม ดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1 จะเห็นว่า อุปทานเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนออกไปทางขวาของเส้นเดิม


รูปที่ 2 จะเห็นว่า อุปทานเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนออกไปทางซ้ายของเส้นเดิม

ปัจจัยกำหนดอุปทาน

ปริมาณการเสนอขายของผู้ขายจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

                    Qx  =  f(Px, C, W, Py, T, ...)

                    Dx  =  ปริมาณการเสนอขายสินค้า x
                    Px  =  ราคาสอนค้า x
                    C   =  ต้นทุนการผลิต
                    W  =  สภาพดินฟ้า อากาศ
                    Py  =  ราคาสินค้าอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    T   =  เทคนิคในการผลิต


หมายเหตุ  ปริมาณขายจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับต้นทุนการผลิตและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต

Sunday, November 25, 2012

ความหมายของอุปทาน (SUPPLY)

อุปทาน หมายถึง ปริมาณการเสนอขานสินค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับราคาขาย คือ

กฎว่าด้วยอุปทาน (Law of Supply) จะอธิบายว่า ถ้าสินค้าขายได้ราคาสูงขึ้น ปริมาณขายจะมีมากขึ้น แต่ถ้าสินค้าขายได้ราคาต่ำ ปริมาณขายด็จะลดลง

เส้นอุปทาน จะมีลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห้นว่า เมื่อสินค้าขายได้ราคาต่ำลงจาก 6 บาท เป็น 2 บาท ปริมาณขายจะลดลงจาก 20 หน่วยเป็น 10 หน่วย

การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์

เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ได้เป็น 2 กรณี คือ

1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in Guantity Demanded) คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้ออันเนื่องมาจากราคาของสินค้าชนิดนั้น ซึ่งเป็นการเปบี่ยนแปลงปริมาณซื้อบน้ส้นอุปสงค์เส้นเดิม (Move along the curve) ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห็นว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นลดลง ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงอบูู่บนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม คือ จากจุด A เคลื่อมาเป็นจุด B บนเส้นอุปางค์เดิม

2. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้ออันเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ(ยกเว้นราคาสินค้าชนิดนั้น) เช่น การเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้ซื้อ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เเกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้มีความสัมพันธ์กับราคาของสินค้าที่ซื้อแต่อย่างใด ในกรณีนี้ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่บนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม แต่จะย้ายไปอยู่บน้ว่นอุปสงค์เส้นใหม่ที่เคลื่อน (Shift) ออกไปจากเส้นเดิมดังรูปต่อไปนี้


 
จากรูป จะเห็นว่า อุปสงค์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนออกไปทางขวาของเส้นเดิม


จากรูป จะเห็นว่า อุปสงค์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลดลง ทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนออกไปทางซ้ายของเส้นเดิม






ประเภทของอุปสงค์

เราสามารถแบ่งอุปสงค์ออกเป็น 3 ชนิด ตามปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ซึ่งได้แก่

1. อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) หมายถึง ปริมาณการซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาของสินค้าชนิดนั้น (โดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม คือ

กฎว่าด้วยอุปสงค์ (Law of Demand) จะอธิบายว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณซื้อของสินค้าชนิดนั้นจะลดลง แต่ถ้าราคาลดลง ปริมารซื้อจะเพิ่มขึ้น

เส้นอุปสงค์ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชัน (Slope) เป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

2. อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ของผู้บริโภค (โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) ซึ่งการพิจารณาความสัพมันธ์ดังกล่าว แยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

2.1 สินค้าปกติ (Normal Goods) ความสัพมันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้จะเป้นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อก็จะมากขึ้น แต่ถ้ารายได้ลดลง ปริมาณซื้อก็จะมีน้อยลงด้วย เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษระทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่า เมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 400 บาท ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้นจาก 2 หน่วย เป็น 8 หน่วย









2.2  สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) ความสัมพันํ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้ จะเป้นไปในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อสินค้าประเภทนี้จะลดลง เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้ จะมีลักษระทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่าเมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 600 บาท ปริมาณซื้อจะลดลงจาก 12 หน่วย เป็น 4 หน่วย








3. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (Cross Demand) หรือ "อุปสงค์ไขว้"  หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ฏฌเยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) สินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

3.1 สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เช่น  ไม้กอล์ฟหับลูกกอล์ฟ, กล้องถ่ายรูปกับฟิล์ม, รถยนต์กับน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกับปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบกัน จะเป๊นไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคารถยนต์กับปริมาณซื้อน้ำมันได้ดังนี้


เส้นอุปสงค์ในกรรณีนี้ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

3.2 สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Sustitution Goods) เช่น ชากับกาแฟ, โค๊กกับเป็ปซี่, น่ำมันหมูกับน้ำมะนพืช เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกะบปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทดแทนกัน จะเป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งมากขึ้นหรือลดลงตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันหมูกับปริมาณซื้อน้ำมันพืชได้ดังนี้

เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้