Saturday, March 5, 2011

อุปสงค์และอุปทาน

๑.ตลาด (market) เป็นศูนย์กลางที่ทำให้เกิดกิจกรรมการซื้อขายซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่จะตกลงราคาและปริมาณการซื้อขาย ตลาดจะกำหนดโครงร่างงานในการวิเคราะห์อิทธิพลของอุปสงค์และอุปทานที่จะกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขาย
๒.การวิเคราะห์อุปสงค์ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) และ อุปสงค์ไขว้ (Cross Demand)
๓.อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) เป็นอุปสงค์ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้มากที่สุด ทั้งการนำไปประยุกห์ใช้ในด้านธุรกิจและปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การที่ปริมาณความต้องการซื้อ (Quantity Demand) เปลี่ยนแปลงในทางตรงข้ามกับราคา (Price) นั้น สาเหตุ ๓ ประการ คือ
(๑) ผลกระทบด้านรายได้ (Income Effect)
(๒) ผลกระทบด้านการทดแทนกัน (Substitution Effect)
(๓) กฏว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Law of Diminishing Marginal Utility)
๔. กฏของอุปสงค์ (Law of Demand) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของราคากับจำนวนอุปสงค์ว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางตรงข้าม เมื่อสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆคงที่ อย่างไรก็ตาม กฏของอุปสงค์มีข้อยกหเว้นในบางกรณี ดังนี้ (๑) การณีเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง (๒) กรณีเป็นวินค้าด้อยคุณภาพ
๕. เส้นอุปสงค์ (Demand Curve) และตารางอุปสงค์ เส้นอุปสงค์เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อ ส่วนตารางอุปสงค์ เป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อ
๖. อุปสงค์ต่อราคา (Proce Demand) หมายถึง ปริมาณเสนอซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ภายในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น อุปสงค์่อราคา แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ (๑) อุปสงค์แต่ละบุคคล (๒) อุปสงค์ของตลาด และ (๓) อุปสงค์ของหน่วยผลิต
๗. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงได้ ๒ ลักษณะ คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเส้นอุปสงค์(Change in Quantity Demanded) (๒) การเลื่อนองเส้นอุปสงค์ (Shift in Demand Curve)
๘. ตัวกกำหนดอุปสงค์ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ ถ้าอุปสงค์มากขึ้น เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวามือ และถ้าอุปสงค์ลกลง เส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางซ้ายมือ โดยตัวกำหนดอุปสงค์ประกอบด้วย (๑)รายได้ของผู้บริโภค (๒) รสนิยมของผู้บริโภค (๓) ราคาิสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Substitution goods) และ สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods) (๔) จำนวนผู้บริโภคในตลาด (๕) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (๖) การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต (๗) ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารการตลาด (๘) ฤดูกาล (๙) เทศกาล และ (๑๐) การกระจายรายได้

๙. อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณเสนอขายสินค้าหรือบริการ (Quantity Supply) ของผู้ผลิตหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ตามราคา (Price) ที่เป็นอยู่ขณะนั้น อุปทานแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ อุปทานส่วนบุคคล อุปทานของตลาด และอุปทานรวม
๑๐. กฏอุปทาน (Law of Supply) แสดงถึงความสัมพันํ์ของราคา กับปริมาณเสนอขายหรือจำนวนอุปทาน ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดี่ยวกัน โดยกำหนดให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คงที่ กล่าวคือ การเสนอขายสินค้าจะลดลงเมื่อราคาสินค้าลดลง ในทางตรงข้ามเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น
๑๑. เส้นอุปทาน (Supply Curve) และตารางอุปทาน เส้นอุปทาน เป็นเส้นที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขาย ที่ผู้ผลิตหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง มีความเต็มใจที่จะนำออกมาขายในเวลาใดเวลาหนึ่ง
๑๒. อุปทานเปลี่ยนแปลงได้ ๒ ลักษณะ คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเส้นอุปทาน (๒)การเลื่อนของเส้นอุปทาน
๑๓. ตัวกำหนดอุปทาน ตัวกำหนดอุปทานเป็นปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเสนอขายของธุรกิจ ซึ่งทำให้เส้นอุปทานเลื่อนได้ ถ้าการเสนอขายเพิ่มขึ้น เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางขวามือ ถ้าการเสนอขายลดลง เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางซ้ายมือ ปัจจัยที่ทำให้เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงได้มีดังนี้ (๑) ต้นทุนการผลิตและราคาของปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า (๒) เทคโนโลยี (๓) ภูมิอากาศ (๔) นโยบายของรัฐบาล
๑๔. ดุลยภาพ (Equilibrium) หมายถึง สภาวะที่ผู้ซื้อและผู้ขายพอใจร่วมกันในการกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าหรือบริการที่จะซื้อขาย ซึ่งในภาวะดังกล่าวปริมาณความต้อการที่จะซื้อหรือหรืออุปสงค์จะเท่ากับปริมาณเสนอข่ายหรืออุปทาน
๑๕. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนที่ทำให้ภาวะดุลยภาพเปลี่ยนแปลง ผลของการกระทำของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนี้ (๑) การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling)หรือการควบคุมราคา (Price Control) สำหรับสินค้าบางชนิด (๒) การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum Price) หรือการประกันราคาขั้นต่ำ (Price Floor)(๓) การจ่ายเงินอุดหนุน (Subsidy) (๔) การเก็บภาษี (Tax) (๕) การพยุงราคา (Price Support)
๑๖. บทบาทของเอกชนที่จะทำให้ภาวะดุลยภาพเปลี่ยนแปลง มีดังนี้ (๑) ผู้ขายมีการกักตุนสินค้า (Hoarding) (๒) ผู้บริโภคเกิดความเห่อ (Fad)
๑๗. การเปลี่ยนแปลงราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ เกิดจาก (๑) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ (๒) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปทาน (๓) การเปลี่ยนแปลงของทั้งเส้นอุปสงค์และอุปทาน
๑๘. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปทานคงที่ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ กรณ๊ ดังนี้ (๑) อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้น (เส้นอุปสงค์เคลื่อนไปทางขวา) (๒) อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ลดลง (เส้นอุปสงค์เคลื่อนไปทางซ้าย)
๑๙. อุปทานเปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปสงค์คงที่ สาารถแบ่งออกเป็น ๒ กรณี ดังนี้ (๑)อุปทานเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้น (เส้นอุปทานเลื่อนไปทางขวา) (๒) อุปทานเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ลดลง (เส้นอุปทาเลื่อนไปทางซ้าย)