Wednesday, November 28, 2012

ทดลอง post ผ่าน iPad

ด้วยความพยายาม หากสามารถ post ผ่าน iPad ได้คงสะดวกมากขึ้น

Monday, November 26, 2012

การกำหนดราคาดุลยภาพและกลไกราคา

ราคาดุลยภาพ (EQuilibrium Price) คือ ระดับราคาที่ปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากัน
ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) คือ ปริมาณซื้อและปริมาณขายที่เท่ากันพอดี ณ ราคาดุลยภาพ

ดังนั้นราคาและปริมาณดุลยภาพก็คือ ระดับราคาและปริมารที่เกิดขึ้นตรงจุดที่เส้นอุปสงคืและเส้นอุปทานตัดกันนั่นเอง ซึ่งจะได้รูปดังต่อไปนี้

จากรูปข้างต้น E คือ จุดดุลยภาพ, OP0 คือ ราคาดุลยภาพ  OQ0   คือ ปริมาณดุลยภาพ

นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของกลไกราคาที่จะส่งผลต่อปริมาณซื้อและปริมาณขาย ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

1. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP1) จะเกิดผลดังนี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P1A
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P1B
         - เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) คือ ช่วง AB ทำให้มีสินค้าเหลือ เพราะขายไม่หมด
2. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP2) จะเกิดผลดงันี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P2C
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P2D
         - เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) คือ ช่วง CD ทำให้มีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ

การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาสินค้าต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลต้องเข้าไปแทรกแซงทางด้านราคา เพื่อช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงด้วยการกำหนดราคาขั้นสูงให้ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ซึ่งจะทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อมีมากกว่าจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย หรือมีอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) เกิดขึ้นนั่นเอง

ในกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณมากเกิดความต้องการในตลาด จะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง ดังนั้น รัฐบาลจึงช่วยเหลือเกษตรกรหรือปผู้ผลิตด้วยการกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ในระดับที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ หรือราคาตลาดที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการกำหนดค่าจ้างแรงงานให้สูงกว่าค่าจ้างที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อทำให้แรงงานมีอำนาจซื้อมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้ความต้องการจ้างแรงงานลดลง จนทำให้แรงงานล้นตลาดได้ ซึ่งรัฐบาลอาจแก้ไขปัญหานี้ด้วยการพยายามสร้างความต้องการจ้างแรงงาน (Demand on Labour) ให้มากขึ้น โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้
1. อาจให้สิทธิพิเศษบางประเภทแก่ผู้ประกอบการ หากมีการจ้างแรงงานมากขึ้น
2. ติดต่อตลาดแรงงานในต่างประเทศ เพื่อให้รับแรงงานไทยไปทำงานเพิ่มขึ้น
3. ลดปริมารของแรงงานไร้ทักษะด้วยการจัดอบรมฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาให้กลายเป็นแรงงานที่มีทักษะ

  

การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน

เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปทานได้เป็น 2 กรณี คือ

1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (Change in Quantity Supplied) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายในทิศทางเดียวกับราคาขาย ซึ่งปริมาณขายที่เปลี่ยนแปลงจะเคลื่อนตัวอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห็นว่า เมื่อสินค้าขายได้ในราคาต่ำ ปริมาณขายก็จะลดลงด้วย และเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม คือ จากจุด M เคลื่อนมาเป็นจุด N  บนเส้นอุปทานเดิม

2. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงราคาขาย ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นๆ(ยกเว้นราคาของสินค้าชนิดนั้น) เช่น ต้นทุนการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ เทคนิคการผลิต เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุปทานในกรณีนี้ จะมีผลทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ออกไปจากเส้นเดิม ดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1 จะเห็นว่า อุปทานเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนออกไปทางขวาของเส้นเดิม


รูปที่ 2 จะเห็นว่า อุปทานเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนออกไปทางซ้ายของเส้นเดิม

ปัจจัยกำหนดอุปทาน

ปริมาณการเสนอขายของผู้ขายจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

                    Qx  =  f(Px, C, W, Py, T, ...)

                    Dx  =  ปริมาณการเสนอขายสินค้า x
                    Px  =  ราคาสอนค้า x
                    C   =  ต้นทุนการผลิต
                    W  =  สภาพดินฟ้า อากาศ
                    Py  =  ราคาสินค้าอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    T   =  เทคนิคในการผลิต


หมายเหตุ  ปริมาณขายจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับต้นทุนการผลิตและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต

Sunday, November 25, 2012

ความหมายของอุปทาน (SUPPLY)

อุปทาน หมายถึง ปริมาณการเสนอขานสินค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับราคาขาย คือ

กฎว่าด้วยอุปทาน (Law of Supply) จะอธิบายว่า ถ้าสินค้าขายได้ราคาสูงขึ้น ปริมาณขายจะมีมากขึ้น แต่ถ้าสินค้าขายได้ราคาต่ำ ปริมาณขายด็จะลดลง

เส้นอุปทาน จะมีลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห้นว่า เมื่อสินค้าขายได้ราคาต่ำลงจาก 6 บาท เป็น 2 บาท ปริมาณขายจะลดลงจาก 20 หน่วยเป็น 10 หน่วย

การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์

เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ได้เป็น 2 กรณี คือ

1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (Change in Guantity Demanded) คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้ออันเนื่องมาจากราคาของสินค้าชนิดนั้น ซึ่งเป็นการเปบี่ยนแปลงปริมาณซื้อบน้ส้นอุปสงค์เส้นเดิม (Move along the curve) ดังรูปต่อไปนี้

จากรูป จะเห็นว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นลดลง ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงอบูู่บนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม คือ จากจุด A เคลื่อมาเป็นจุด B บนเส้นอุปางค์เดิม

2. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้ออันเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ(ยกเว้นราคาสินค้าชนิดนั้น) เช่น การเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้ซื้อ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เเกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้มีความสัมพันธ์กับราคาของสินค้าที่ซื้อแต่อย่างใด ในกรณีนี้ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่บนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม แต่จะย้ายไปอยู่บน้ว่นอุปสงค์เส้นใหม่ที่เคลื่อน (Shift) ออกไปจากเส้นเดิมดังรูปต่อไปนี้


 
จากรูป จะเห็นว่า อุปสงค์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนออกไปทางขวาของเส้นเดิม


จากรูป จะเห็นว่า อุปสงค์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลดลง ทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนออกไปทางซ้ายของเส้นเดิม






ประเภทของอุปสงค์

เราสามารถแบ่งอุปสงค์ออกเป็น 3 ชนิด ตามปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ซึ่งได้แก่

1. อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) หมายถึง ปริมาณการซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาของสินค้าชนิดนั้น (โดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม คือ

กฎว่าด้วยอุปสงค์ (Law of Demand) จะอธิบายว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณซื้อของสินค้าชนิดนั้นจะลดลง แต่ถ้าราคาลดลง ปริมารซื้อจะเพิ่มขึ้น

เส้นอุปสงค์ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชัน (Slope) เป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

2. อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ของผู้บริโภค (โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) ซึ่งการพิจารณาความสัพมันธ์ดังกล่าว แยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

2.1 สินค้าปกติ (Normal Goods) ความสัพมันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้จะเป้นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อก็จะมากขึ้น แต่ถ้ารายได้ลดลง ปริมาณซื้อก็จะมีน้อยลงด้วย เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษระทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่า เมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 400 บาท ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้นจาก 2 หน่วย เป็น 8 หน่วย









2.2  สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) ความสัมพันํ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้ จะเป้นไปในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อสินค้าประเภทนี้จะลดลง เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้ จะมีลักษระทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่าเมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 600 บาท ปริมาณซื้อจะลดลงจาก 12 หน่วย เป็น 4 หน่วย








3. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (Cross Demand) หรือ "อุปสงค์ไขว้"  หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ฏฌเยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) สินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

3.1 สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เช่น  ไม้กอล์ฟหับลูกกอล์ฟ, กล้องถ่ายรูปกับฟิล์ม, รถยนต์กับน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกับปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบกัน จะเป๊นไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคารถยนต์กับปริมาณซื้อน้ำมันได้ดังนี้


เส้นอุปสงค์ในกรรณีนี้ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

3.2 สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Sustitution Goods) เช่น ชากับกาแฟ, โค๊กกับเป็ปซี่, น่ำมันหมูกับน้ำมะนพืช เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกะบปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทดแทนกัน จะเป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งมากขึ้นหรือลดลงตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันหมูกับปริมาณซื้อน้ำมันพืชได้ดังนี้

เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้



















ปัจจัยกำหนดอุปสงค์

ปริมาณการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งสามารถเขียนเป็นฟังก์ชั่นได้ดังนี้





Qx  =  f(Px, Y, T, Py)

โดยที่  Qx  =  ปริมาณการซื้อสินค้า x
            Px  =   ราคาสินค้า x
            Y   =   รายได้ของผู้ซื้อ
            T   =   รสนิยมของผู้ซื้อ
            Py =   ราคาสินค้า y



ความหมายของอุปสงค์

อุปสงค์ หมายถึง ความปรารถนาและเต็มใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ ณ ระดัยราคาต่างๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมรความสามารถที่จะซื้อ (Purchasing Power) สนับสนุนด้วย

DEmand ในทางเศรษฐศาสตร์ จะต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง ต่อไปนี้
1. มีความต้องการ (WANTS)
2. มีอำนาจซื้อ (Purhasing Power) หรือมีความสามารถในการจ่าย (Ability to pay)
3. มีความเต็มใจที่จะจ่ายทันที

ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า "ดีมานด์ที่สัมฤทธิ์ผล" (Effective Demand) แต่ถ้าขาดเงินที่จะจ่าย หรือต้องการชะลอที่จะจ่าย เราเรียกว่า "Potential Demand"

อำนาจซื้อ คือ มูลค่าของเงิน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับราคาสินค้า ดังนี้
- ถ้าปริมาณเงินมาก ระดับราคาสินค้าจะสูงขึ้น ค่าของเงินจะลดลง
- ถ้าปริมาณเงิน มีน้อย ระดับราคาสินค้าจะลดลง ค่าของเงินจะสูงขึ้น

(26/11/55)

Friday, November 23, 2012

เพื่อนร่วมห้องเรียน

สำหรับนกศึกษาบัญชี 9 ที่เรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่มังสี
กลิ่นธูป ศรีวิชา
ทัศมาพร เวาร์สูง
นงนุช ผากา
นัชชานันท์ หว้านโพธิ์ศรี
นิตยา อินธพันธ์
ปนัดดา ขันธุลา
ปนิดา สิงห์สุ
วิภารัตน์ กลิ่นหวาน
วิสุดา อมรสิน
ศิริภรณ์ ไชยสัจ
สายฝน ห้วยทราย
สินธพร รัตนวงศ์
สุนันทา คดเคี้ยว
โสรยา มวลปาก
อรทัย คำมุงคุณ
อ้อมหทัย จันทนนท์
ณัชธชา ทองมาก
สุนันทา
พระ
ทศพร นิลมาตย์เอราวัณ วงศ์กระโซ่
























ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์

นักศึกษาบัญชีรุ่น 9 หน่วยเมืองมุกดาหาร
เตรียมสอบกันนะครับ