๑.ตลาด (market) เป็นศูนย์กลางที่ทำให้เกิดกิจกรรมการซื้อขายซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่จะตกลงราคาและปริมาณการซื้อขาย ตลาดจะกำหนดโครงร่างงานในการวิเคราะห์อิทธิพลของอุปสงค์และอุปทานที่จะกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขาย
๒.การวิเคราะห์อุปสงค์ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) และ อุปสงค์ไขว้ (Cross Demand)
๓.อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) เป็นอุปสงค์ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้มากที่สุด ทั้งการนำไปประยุกห์ใช้ในด้านธุรกิจและปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การที่ปริมาณความต้องการซื้อ (Quantity Demand) เปลี่ยนแปลงในทางตรงข้ามกับราคา (Price) นั้น สาเหตุ ๓ ประการ คือ
(๑) ผลกระทบด้านรายได้ (Income Effect)
(๒) ผลกระทบด้านการทดแทนกัน (Substitution Effect)
(๓) กฏว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Law of Diminishing Marginal Utility)
๔. กฏของอุปสงค์ (Law of Demand) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของราคากับจำนวนอุปสงค์ว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางตรงข้าม เมื่อสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆคงที่ อย่างไรก็ตาม กฏของอุปสงค์มีข้อยกหเว้นในบางกรณี ดังนี้ (๑) การณีเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง (๒) กรณีเป็นวินค้าด้อยคุณภาพ
๕. เส้นอุปสงค์ (Demand Curve) และตารางอุปสงค์ เส้นอุปสงค์เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อ ส่วนตารางอุปสงค์ เป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อ
๖. อุปสงค์ต่อราคา (Proce Demand) หมายถึง ปริมาณเสนอซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ภายในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น อุปสงค์่อราคา แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ (๑) อุปสงค์แต่ละบุคคล (๒) อุปสงค์ของตลาด และ (๓) อุปสงค์ของหน่วยผลิต
๗. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงได้ ๒ ลักษณะ คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเส้นอุปสงค์(Change in Quantity Demanded) (๒) การเลื่อนองเส้นอุปสงค์ (Shift in Demand Curve)
๘. ตัวกกำหนดอุปสงค์ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ ถ้าอุปสงค์มากขึ้น เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวามือ และถ้าอุปสงค์ลกลง เส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางซ้ายมือ โดยตัวกำหนดอุปสงค์ประกอบด้วย (๑)รายได้ของผู้บริโภค (๒) รสนิยมของผู้บริโภค (๓) ราคาิสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Substitution goods) และ สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods) (๔) จำนวนผู้บริโภคในตลาด (๕) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (๖) การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต (๗) ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารการตลาด (๘) ฤดูกาล (๙) เทศกาล และ (๑๐) การกระจายรายได้
๙. อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณเสนอขายสินค้าหรือบริการ (Quantity Supply) ของผู้ผลิตหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ตามราคา (Price) ที่เป็นอยู่ขณะนั้น อุปทานแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ อุปทานส่วนบุคคล อุปทานของตลาด และอุปทานรวม
๑๐. กฏอุปทาน (Law of Supply) แสดงถึงความสัมพันํ์ของราคา กับปริมาณเสนอขายหรือจำนวนอุปทาน ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดี่ยวกัน โดยกำหนดให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คงที่ กล่าวคือ การเสนอขายสินค้าจะลดลงเมื่อราคาสินค้าลดลง ในทางตรงข้ามเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น
๑๑. เส้นอุปทาน (Supply Curve) และตารางอุปทาน เส้นอุปทาน เป็นเส้นที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขาย ที่ผู้ผลิตหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง มีความเต็มใจที่จะนำออกมาขายในเวลาใดเวลาหนึ่ง
๑๒. อุปทานเปลี่ยนแปลงได้ ๒ ลักษณะ คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเส้นอุปทาน (๒)การเลื่อนของเส้นอุปทาน
๑๓. ตัวกำหนดอุปทาน ตัวกำหนดอุปทานเป็นปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเสนอขายของธุรกิจ ซึ่งทำให้เส้นอุปทานเลื่อนได้ ถ้าการเสนอขายเพิ่มขึ้น เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางขวามือ ถ้าการเสนอขายลดลง เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางซ้ายมือ ปัจจัยที่ทำให้เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงได้มีดังนี้ (๑) ต้นทุนการผลิตและราคาของปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า (๒) เทคโนโลยี (๓) ภูมิอากาศ (๔) นโยบายของรัฐบาล
๑๔. ดุลยภาพ (Equilibrium) หมายถึง สภาวะที่ผู้ซื้อและผู้ขายพอใจร่วมกันในการกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าหรือบริการที่จะซื้อขาย ซึ่งในภาวะดังกล่าวปริมาณความต้อการที่จะซื้อหรือหรืออุปสงค์จะเท่ากับปริมาณเสนอข่ายหรืออุปทาน
๑๕. บทบาทของรัฐบาลและเอกชนที่ทำให้ภาวะดุลยภาพเปลี่ยนแปลง ผลของการกระทำของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนี้ (๑) การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling)หรือการควบคุมราคา (Price Control) สำหรับสินค้าบางชนิด (๒) การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum Price) หรือการประกันราคาขั้นต่ำ (Price Floor)(๓) การจ่ายเงินอุดหนุน (Subsidy) (๔) การเก็บภาษี (Tax) (๕) การพยุงราคา (Price Support)
๑๖. บทบาทของเอกชนที่จะทำให้ภาวะดุลยภาพเปลี่ยนแปลง มีดังนี้ (๑) ผู้ขายมีการกักตุนสินค้า (Hoarding) (๒) ผู้บริโภคเกิดความเห่อ (Fad)
๑๗. การเปลี่ยนแปลงราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ เกิดจาก (๑) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ (๒) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปทาน (๓) การเปลี่ยนแปลงของทั้งเส้นอุปสงค์และอุปทาน
๑๘. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปทานคงที่ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ กรณ๊ ดังนี้ (๑) อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้น (เส้นอุปสงค์เคลื่อนไปทางขวา) (๒) อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ลดลง (เส้นอุปสงค์เคลื่อนไปทางซ้าย)
๑๙. อุปทานเปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปสงค์คงที่ สาารถแบ่งออกเป็น ๒ กรณี ดังนี้ (๑)อุปทานเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้น (เส้นอุปทานเลื่อนไปทางขวา) (๒) อุปทานเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ลดลง (เส้นอุปทาเลื่อนไปทางซ้าย)
Saturday, March 5, 2011
Saturday, February 19, 2011
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
สาระสำคัญของประเด็นการเรียน(วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) ประกอบด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์๑. ปัญหาทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด แต่วามต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความขาดแคลน (Scarcity) ในสินค้าและบริการ ปัญหาพื้นฐานเศรษบกิจจึงเกิดข้นกับทุกระบบเศรษฐกิจ นั่นคือ ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (WHAT) ผลิตอย่างไร (HOW) และผลิตเพื่อใคร (FOR WHOM) โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ความต้องการแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่
(๑) ความต้ิองการทั่วไป (General Wants) คือความต้องการในสินค้าและบริการแต่ละชนิดของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด (Unlimited Wants)
(๒) ความต้องการเฉพาะ (Specific Wants) คือ ความต้องการเฉพาะเจาะจงซึ่งมีอย่างจำกัด
๒. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
(๑) เศรษฐศษสตร์ เป็นแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๒) เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยเล็กๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลาด อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคา
(๓) เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรงมทั้งประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ การออม การลงทุน การพัฒฯาเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศงเศรษฐศาสตร์มหภาค"
นับตั้งแต่ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ได้เสนอทฤษฎีการว่าจ้างทำงาน ดอกเบี้ย และเงินตรา เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปี ค.ศ. 1936 นั้น ได้กระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เริ่มให้ความสนใจ มหเศรษฐศาสตร์ มากขึ้น ทำให้ เคนส์ ได้รับยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค"
สินค้าและบริการ (goods and Service) ตามความหมายของเศรษฐศาสตร์ จะเรียกว่า "เศรษฐทรัพย์" ซึ่งหมายถึง สินค้าและบริการที่ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมทั้งสามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนและถือครองเป็นเจ้าของได้ด้วย
๓. ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต คือ ทรัำพยากรที่ใช้ในกานผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย ๔ อย่างงได้
(๑) ที่ดิน (ค่ตอบแทน ได้แก่ "ค่าเช่า)
(๒) แรงงาน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ค่าจ้าง")
(๓) ทุน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ดอกเบี้ย")
(๔) ผู้ประกบอการ (ค่าตอบแทน ได้แก่ "กำไร")
๔. ระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษบกิจ ทำหน้าที่ทางด้านติดตาม เกี่ยวกับการผลิต การบริโภคและการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการ เื่พื่อให้ทุกคนอยู่ดีกินดี
กลุ่มของคนในสังคม ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริโภค มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด (Maximize Satisfaction) เพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด (Maximize Utility)
(๒) มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize Profit)
วงจรเศรษฐกิจอย่างง่าย คือ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด ซึ่งจะไม่มีรัฐบาลหรือการค้าระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ จะประกอบด้วย ๒ หน่วยสำคัญ คือ
(๑) หน่วยธุรกิจ จะทำหน้าที่เป็นผู้นำปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ เพื่อจำหน่าวยให้แก่หน่วยครัวเรือน
(๒) หน่วยครัวเรือน ถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยหน่วยครังเรือนจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร จากนั้นครัวเรือนจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้จ้ายซื่อสินค้าและบริการจากหน่วยผลิต อีกส่วนหนึ่งจะเก็บออมไว้ ทั้งนี้สถาบันการเงิน จะนำเงินออมไปปล่อยกู้ เพื่อขยายการลงทุน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้ดี
เนื่องจากแต่ละสังคมมการปกครองและมีจารีตประเพณีที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์และนโยบายที่เป็นแบบแผน เพื่อให้สถาบันทางเศรษฐกิจถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม ซึ่่งในปัจจุบันประเทศต่างๆในโลก มีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความเป็นอิสระในการประกอบการ ๔ ระดับ ดังนี้
(๑) ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่อยู่ซ้ายสุดหรือประชาชนมีอิสระน้อยที่สุด กล่าวคือ ประชาชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ไม่มีอิสระในการเลือกผลิตหรือเลือกบริโภค รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดว่าสังคมจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
(๒) ระบบสังคมนิยม เป็นระบบที่วางแผนโดยรัฐในกิจการสำคัญที่เป็นของรัฐเพื่อสร้างสวัสดิการของสังคม เช่น ธนาคาร ป่าไม้ อุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ
(๓) ระบบผสม เป็นระบบที่ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รัฐจะดำเนินกิจการเพื่อส่วนรวมเพื่อป้องกันการผูกขาดและเอาเปรียบ
(๔) ระบบเสรีนิยมหรือระบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่ขวาสุด และไม่มีการวางแผน มีความเป็นประชาธิปไตยหรือประชาชนมีอิสระสูงสุด กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิที่จะผลิตและบริโภคได้ทราบเท่าที่ไม่ผิดกฎหมาย โดยใช้กลไกตลาดหรือกลไกราคาเป็นตัวตัดสินว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร อีกทั้งมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากเท่าที่ตนหามาได้ ส่วนรัฐจะเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อความสงบสุขของประชาชนเท่านั้น
จะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจทั้ง ๔ ระดับ ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อให้ประชาชนของตนอยู่ดีกินดี แต่วิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละระบบเศรษฐกิจนั้น จะแตกต่างกันตามระดับความมีอิสระของแต่ละประเทศ และทุกประเทศจะมีปัญหาเศรษฐกิจเดียวกันคือ ทรัพยากรในการผลิตมีจำกัด
คำถามสำหรับนักศึกษา นักศึกษาคิดว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน (ทุนนิยมเสรี) มีความเหมาะสม และสามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย เติบโตแบบยั่งยืนได้หรือไม่ หากเปรียบเทียบกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง?(ส่งคำตอบทาง e-mail ไปที่ pisitattakarn@gmail.com)
แล้วค่อยพบกันต่อไป (Demand and Supply)
แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์๑. ปัญหาทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด แต่วามต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความขาดแคลน (Scarcity) ในสินค้าและบริการ ปัญหาพื้นฐานเศรษบกิจจึงเกิดข้นกับทุกระบบเศรษฐกิจ นั่นคือ ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (WHAT) ผลิตอย่างไร (HOW) และผลิตเพื่อใคร (FOR WHOM) โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ความต้องการแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่
(๑) ความต้ิองการทั่วไป (General Wants) คือความต้องการในสินค้าและบริการแต่ละชนิดของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด (Unlimited Wants)
(๒) ความต้องการเฉพาะ (Specific Wants) คือ ความต้องการเฉพาะเจาะจงซึ่งมีอย่างจำกัด
๒. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
(๑) เศรษฐศษสตร์ เป็นแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๒) เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยเล็กๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลาด อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคา
(๓) เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรงมทั้งประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ การออม การลงทุน การพัฒฯาเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศงเศรษฐศาสตร์มหภาค"
นับตั้งแต่ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ได้เสนอทฤษฎีการว่าจ้างทำงาน ดอกเบี้ย และเงินตรา เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปี ค.ศ. 1936 นั้น ได้กระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เริ่มให้ความสนใจ มหเศรษฐศาสตร์ มากขึ้น ทำให้ เคนส์ ได้รับยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค"
สินค้าและบริการ (goods and Service) ตามความหมายของเศรษฐศาสตร์ จะเรียกว่า "เศรษฐทรัพย์" ซึ่งหมายถึง สินค้าและบริการที่ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมทั้งสามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนและถือครองเป็นเจ้าของได้ด้วย
๓. ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต คือ ทรัำพยากรที่ใช้ในกานผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย ๔ อย่างงได้
(๑) ที่ดิน (ค่ตอบแทน ได้แก่ "ค่าเช่า)
(๒) แรงงาน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ค่าจ้าง")
(๓) ทุน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ดอกเบี้ย")
(๔) ผู้ประกบอการ (ค่าตอบแทน ได้แก่ "กำไร")
๔. ระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษบกิจ ทำหน้าที่ทางด้านติดตาม เกี่ยวกับการผลิต การบริโภคและการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการ เื่พื่อให้ทุกคนอยู่ดีกินดี
กลุ่มของคนในสังคม ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริโภค มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด (Maximize Satisfaction) เพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด (Maximize Utility)
(๒) มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize Profit)
วงจรเศรษฐกิจอย่างง่าย คือ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด ซึ่งจะไม่มีรัฐบาลหรือการค้าระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ จะประกอบด้วย ๒ หน่วยสำคัญ คือ
(๑) หน่วยธุรกิจ จะทำหน้าที่เป็นผู้นำปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ เพื่อจำหน่าวยให้แก่หน่วยครัวเรือน
(๒) หน่วยครัวเรือน ถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยหน่วยครังเรือนจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร จากนั้นครัวเรือนจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้จ้ายซื่อสินค้าและบริการจากหน่วยผลิต อีกส่วนหนึ่งจะเก็บออมไว้ ทั้งนี้สถาบันการเงิน จะนำเงินออมไปปล่อยกู้ เพื่อขยายการลงทุน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้ดี
เนื่องจากแต่ละสังคมมการปกครองและมีจารีตประเพณีที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์และนโยบายที่เป็นแบบแผน เพื่อให้สถาบันทางเศรษฐกิจถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม ซึ่่งในปัจจุบันประเทศต่างๆในโลก มีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความเป็นอิสระในการประกอบการ ๔ ระดับ ดังนี้
(๑) ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่อยู่ซ้ายสุดหรือประชาชนมีอิสระน้อยที่สุด กล่าวคือ ประชาชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ไม่มีอิสระในการเลือกผลิตหรือเลือกบริโภค รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดว่าสังคมจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
(๒) ระบบสังคมนิยม เป็นระบบที่วางแผนโดยรัฐในกิจการสำคัญที่เป็นของรัฐเพื่อสร้างสวัสดิการของสังคม เช่น ธนาคาร ป่าไม้ อุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ
(๓) ระบบผสม เป็นระบบที่ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รัฐจะดำเนินกิจการเพื่อส่วนรวมเพื่อป้องกันการผูกขาดและเอาเปรียบ
(๔) ระบบเสรีนิยมหรือระบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่ขวาสุด และไม่มีการวางแผน มีความเป็นประชาธิปไตยหรือประชาชนมีอิสระสูงสุด กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิที่จะผลิตและบริโภคได้ทราบเท่าที่ไม่ผิดกฎหมาย โดยใช้กลไกตลาดหรือกลไกราคาเป็นตัวตัดสินว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร อีกทั้งมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากเท่าที่ตนหามาได้ ส่วนรัฐจะเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อความสงบสุขของประชาชนเท่านั้น
จะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจทั้ง ๔ ระดับ ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อให้ประชาชนของตนอยู่ดีกินดี แต่วิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละระบบเศรษฐกิจนั้น จะแตกต่างกันตามระดับความมีอิสระของแต่ละประเทศ และทุกประเทศจะมีปัญหาเศรษฐกิจเดียวกันคือ ทรัพยากรในการผลิตมีจำกัด
คำถามสำหรับนักศึกษา นักศึกษาคิดว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน (ทุนนิยมเสรี) มีความเหมาะสม และสามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย เติบโตแบบยั่งยืนได้หรือไม่ หากเปรียบเทียบกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง?(ส่งคำตอบทาง e-mail ไปที่ pisitattakarn@gmail.com)
แล้วค่อยพบกันต่อไป (Demand and Supply)
Thursday, February 17, 2011
เพื่อนเรา...
๑. นางสาวนุจรี ทวีโคตร (nuchty_2@hotmail.com)
๒. นางสาววนันยา แสนต่างใจ (wananya_any@hotmail.com)
๓. นางสาวลลิตา โคตรสขึง (new_lalita@hotmail.com)
๔. นายวัชราวุธ ภูมี
๕. นางสาวศิริพร กางโสภา (mui_momay@windowslive.com)
๖. นางสาวทิวาพร คล่องแคล่ว (gook_mos@hotmail.com)
๗. นางสาววิภาภรณ์ แผนสุข (yu_yu_zaa@hotmail.com)
๘. นางกัลยารัตน์ เบญมาตย์ (koka11@hotmail.com)
๙. นางสาวนุศรา คนเพียร
๑๐. นางสาวทองสัย สอนวิชา (wiyumm450@hotmail.com)
๑๑. นางสาวสุพัตรา คนดี (gratae_supattra@hotmail.com)
๑๒. นางสาวฐิตาภรณ์ เตียตระกูล (phorling@hotmail.com)
๑๓. นายคมสันต์ นันหมื่น (jesanyan22@hotmail.com)
๑๔. นายเอกพสิทธิ์ ชิดเชี่ยว (gog.555@hotmail.com)
๑๕. นางสาววิมลรัตน์ แสนสุภา (wimonrat15833@hotmail.com)
๑๖. นายจีรกานต์ ภูมิลา (jeerakarn_b@hotmail.com)
๑๗. นางสาวศรินทิพย์ วีระพงษ์ (mylove_290614@hotmail.com)
๑๘. นางประภาวดี โชติยะวรกุล (phawa1982@hotmail.com)
๒. นางสาววนันยา แสนต่างใจ (wananya_any@hotmail.com)
๓. นางสาวลลิตา โคตรสขึง (new_lalita@hotmail.com)
๔. นายวัชราวุธ ภูมี
๕. นางสาวศิริพร กางโสภา (mui_momay@windowslive.com)
๖. นางสาวทิวาพร คล่องแคล่ว (gook_mos@hotmail.com)
๗. นางสาววิภาภรณ์ แผนสุข (yu_yu_zaa@hotmail.com)
๘. นางกัลยารัตน์ เบญมาตย์ (koka11@hotmail.com)
๙. นางสาวนุศรา คนเพียร
๑๐. นางสาวทองสัย สอนวิชา (wiyumm450@hotmail.com)
๑๑. นางสาวสุพัตรา คนดี (gratae_supattra@hotmail.com)
๑๒. นางสาวฐิตาภรณ์ เตียตระกูล (phorling@hotmail.com)
๑๓. นายคมสันต์ นันหมื่น (jesanyan22@hotmail.com)
๑๔. นายเอกพสิทธิ์ ชิดเชี่ยว (gog.555@hotmail.com)
๑๕. นางสาววิมลรัตน์ แสนสุภา (wimonrat15833@hotmail.com)
๑๖. นายจีรกานต์ ภูมิลา (jeerakarn_b@hotmail.com)
๑๗. นางสาวศรินทิพย์ วีระพงษ์ (mylove_290614@hotmail.com)
๑๘. นางประภาวดี โชติยะวรกุล (phawa1982@hotmail.com)
Saturday, February 12, 2011
สาระการเรียนรู้
ในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ มีสาระสำคัญที่ต้องเรียน ดังนี้
๑. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
๒. อุปสงค์และอุปทาน
๓. การผลิตและทฤษฎีการผลิต
๔. การบริโภคและพฤติกรรมผู้บริโภค
๕. ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
๖. การกำหนดราคา
๗. การเงินและนโยบายการเงิน
๘. การคลังและนโยบายการคลัง
๙. รายได้ประชาชาติ
๑๐. ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
๑๑. ระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ
๑๒. ลักษณะโครงสร้าง ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทย
นักศึกษา สามารถศึกษารายละเอียดของเนื้อหาในแต่ละหน่วยการเรียนได้จากเอกสารประกอบการสอน หลังสือเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่ในห้องสมุด ทั้งเศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตรมหภาค เศรษฐศาสตร์ทั่วไป หลักเศรษฐศาสตร์ ซึี่่งโดยทั่วไป เศรษฐศาสตร์ เป็นรายวิชาที่มีความเป็นสากล ไมว่านักศึกษาจะค้นคว้างจากเอกสารเล่มใด ก็จะมสาระสำคัญเหมือนกัน...ลองดูนะครับ
ข้อต้อนรับ นักศึกษา Com8 หน่วยเมือง
น่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสสอนห้อง com8 หน่วยจัดการศึกษาอำเภอเมือง หลายคนเคยพบหน้า จำได้ ฒีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมหลายกิจกรรม มาในครั้งนี้ ได้มีโอกาสมาสอนในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ในเทอมนี้ คงมีเพียงสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่ต้องเรียนในรายวิชา "หลักเศรษฐศาสตร์" สาขาวิชาอื่นๆ จะเรียนรายวิชา "เศรษฐศาสตร์ทั่วไป" แต่โดยเนื้อหาวิชา มีความแตต่างกันน้อยมาก
ก่อนอื่นต้องแจ้งกับนักศึกษาทุกท่านว่า (ไม่ว่าสาขาวิชาใดที่สนใจเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์)web blog นี้ จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนในรายวิชาเศรษฐศาสตร์ คงจะพยายามอำนวยความสะดวก ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการสอน แบบฝึกหัด หนทอเอกสาร/บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และจะใช้ช่องทางนี้ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาที่เรียนให้มากที่สุด โดยเฉพาะนักศึกษาในสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สำหรับบทบาทของนักศึกษา คงต้องเข้าร่วมใน web blog นี้ในฐานะผู้เรียน เข้ามาแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้สอนกำหนดนะครับ โดยเฉพาะเข้ามาทำแบบฝึกหัด นอกเหนือจากการเข้าเรียนเพิ่มเติมในบทเรียน e-learning ทาง website ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร หากนักศึกษา มีข้อสังคม ความเห็น หรือสอบถามปัญหา กรุณาเข้ามาแสดงความเห็นในกระทู้ต่างๆที่ได้นำเสนอไว้
สำหรับครั้งแรกนี้ ขอให้นักศึกษา Com8 เข้ามาแสดงความเห็น โดยขอให้แนะนำตัวอย่างสั้นๆ ซึ่งน่าจะประกอบด้วย ชื่อจริง ชื่อเล่น ทีทำงาน e-mail หรือ เบอร์โทรศัพท์(ถ้าต้องการบอก)
หวังว่า ทุกคนจะเรียนเศรษฐศาสตร์ด้วยความตั้งใจ ไม่กังวลว่าจะไดเเกรดอะไร ...แล้วพบกันครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)