Saturday, February 19, 2011

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

สาระสำคัญของประเด็นการเรียน(วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) ประกอบด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์๑. ปัญหาทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด แต่วามต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความขาดแคลน (Scarcity) ในสินค้าและบริการ ปัญหาพื้นฐานเศรษบกิจจึงเกิดข้นกับทุกระบบเศรษฐกิจ นั่นคือ ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (WHAT) ผลิตอย่างไร (HOW) และผลิตเพื่อใคร (FOR WHOM) โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ความต้องการแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่
(๑) ความต้ิองการทั่วไป (General Wants) คือความต้องการในสินค้าและบริการแต่ละชนิดของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด (Unlimited Wants)
(๒) ความต้องการเฉพาะ (Specific Wants) คือ ความต้องการเฉพาะเจาะจงซึ่งมีอย่างจำกัด

๒. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
(๑) เศรษฐศษสตร์ เป็นแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๒) เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยเล็กๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลาด อุปสงค์ อุปทาน และการกำหนดราคา
(๓) เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรงมทั้งประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ การออม การลงทุน การพัฒฯาเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศงเศรษฐศาสตร์มหภาค"

นับตั้งแต่ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ได้เสนอทฤษฎีการว่าจ้างทำงาน ดอกเบี้ย และเงินตรา เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปี ค.ศ. 1936 นั้น ได้กระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เริ่มให้ความสนใจ มหเศรษฐศาสตร์ มากขึ้น ทำให้ เคนส์ ได้รับยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค"

สินค้าและบริการ (goods and Service) ตามความหมายของเศรษฐศาสตร์ จะเรียกว่า "เศรษฐทรัพย์" ซึ่งหมายถึง สินค้าและบริการที่ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมทั้งสามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนและถือครองเป็นเจ้าของได้ด้วย

๓. ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต คือ ทรัำพยากรที่ใช้ในกานผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย ๔ อย่างงได้
(๑) ที่ดิน (ค่ตอบแทน ได้แก่ "ค่าเช่า)
(๒) แรงงาน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ค่าจ้าง")
(๓) ทุน (ค่าตอบแทน ได้แก่ "ดอกเบี้ย")
(๔) ผู้ประกบอการ (ค่าตอบแทน ได้แก่ "กำไร")

๔. ระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษบกิจ ทำหน้าที่ทางด้านติดตาม เกี่ยวกับการผลิต การบริโภคและการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการ เื่พื่อให้ทุกคนอยู่ดีกินดี
กลุ่มของคนในสังคม ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริโภค มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด (Maximize Satisfaction) เพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด (Maximize Utility)
(๒) มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize Profit)

วงจรเศรษฐกิจอย่างง่าย คือ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด ซึ่งจะไม่มีรัฐบาลหรือการค้าระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ จะประกอบด้วย ๒ หน่วยสำคัญ คือ
(๑) หน่วยธุรกิจ จะทำหน้าที่เป็นผู้นำปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ เพื่อจำหน่าวยให้แก่หน่วยครัวเรือน
(๒) หน่วยครัวเรือน ถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยหน่วยครังเรือนจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร จากนั้นครัวเรือนจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้จ้ายซื่อสินค้าและบริการจากหน่วยผลิต อีกส่วนหนึ่งจะเก็บออมไว้ ทั้งนี้สถาบันการเงิน จะนำเงินออมไปปล่อยกู้ เพื่อขยายการลงทุน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้ดี


เนื่องจากแต่ละสังคมมการปกครองและมีจารีตประเพณีที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์และนโยบายที่เป็นแบบแผน เพื่อให้สถาบันทางเศรษฐกิจถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม ซึ่่งในปัจจุบันประเทศต่างๆในโลก มีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความเป็นอิสระในการประกอบการ ๔ ระดับ ดังนี้
(๑) ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่อยู่ซ้ายสุดหรือประชาชนมีอิสระน้อยที่สุด กล่าวคือ ประชาชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ไม่มีอิสระในการเลือกผลิตหรือเลือกบริโภค รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดว่าสังคมจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
(๒) ระบบสังคมนิยม เป็นระบบที่วางแผนโดยรัฐในกิจการสำคัญที่เป็นของรัฐเพื่อสร้างสวัสดิการของสังคม เช่น ธนาคาร ป่าไม้ อุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ
(๓) ระบบผสม เป็นระบบที่ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รัฐจะดำเนินกิจการเพื่อส่วนรวมเพื่อป้องกันการผูกขาดและเอาเปรียบ
(๔) ระบบเสรีนิยมหรือระบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่ขวาสุด และไม่มีการวางแผน มีความเป็นประชาธิปไตยหรือประชาชนมีอิสระสูงสุด กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิที่จะผลิตและบริโภคได้ทราบเท่าที่ไม่ผิดกฎหมาย โดยใช้กลไกตลาดหรือกลไกราคาเป็นตัวตัดสินว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร อีกทั้งมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากเท่าที่ตนหามาได้ ส่วนรัฐจะเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อความสงบสุขของประชาชนเท่านั้น
จะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจทั้ง ๔ ระดับ ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อให้ประชาชนของตนอยู่ดีกินดี แต่วิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละระบบเศรษฐกิจนั้น จะแตกต่างกันตามระดับความมีอิสระของแต่ละประเทศ และทุกประเทศจะมีปัญหาเศรษฐกิจเดียวกันคือ ทรัพยากรในการผลิตมีจำกัด


คำถามสำหรับนักศึกษา นักศึกษาคิดว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน (ทุนนิยมเสรี) มีความเหมาะสม และสามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย เติบโตแบบยั่งยืนได้หรือไม่ หากเปรียบเทียบกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง?(ส่งคำตอบทาง e-mail ไปที่ pisitattakarn@gmail.com)

แล้วค่อยพบกันต่อไป (Demand and Supply)

No comments: