Sunday, November 25, 2012

ประเภทของอุปสงค์

เราสามารถแบ่งอุปสงค์ออกเป็น 3 ชนิด ตามปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ซึ่งได้แก่

1. อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand) หมายถึง ปริมาณการซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาของสินค้าชนิดนั้น (โดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม คือ

กฎว่าด้วยอุปสงค์ (Law of Demand) จะอธิบายว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณซื้อของสินค้าชนิดนั้นจะลดลง แต่ถ้าราคาลดลง ปริมารซื้อจะเพิ่มขึ้น

เส้นอุปสงค์ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชัน (Slope) เป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

2. อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand) หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ของผู้บริโภค (โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) ซึ่งการพิจารณาความสัพมันธ์ดังกล่าว แยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

2.1 สินค้าปกติ (Normal Goods) ความสัพมันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้จะเป้นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อก็จะมากขึ้น แต่ถ้ารายได้ลดลง ปริมาณซื้อก็จะมีน้อยลงด้วย เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษระทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่า เมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 400 บาท ปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้นจาก 2 หน่วย เป็น 8 หน่วย









2.2  สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) ความสัมพันํ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้ จะเป้นไปในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ปริมาณซื้อสินค้าประเภทนี้จะลดลง เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้ จะมีลักษระทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้





จากรูป จะเห็นว่าเมื่อรายได้สูงขึ้นจาก 200 บาท เป็น 600 บาท ปริมาณซื้อจะลดลงจาก 12 หน่วย เป็น 4 หน่วย








3. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (Cross Demand) หรือ "อุปสงค์ไขว้"  หมายถึง ปริมาณซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ฏฌเยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) สินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

3.1 สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เช่น  ไม้กอล์ฟหับลูกกอล์ฟ, กล้องถ่ายรูปกับฟิล์ม, รถยนต์กับน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกับปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบกัน จะเป๊นไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคารถยนต์กับปริมาณซื้อน้ำมันได้ดังนี้


เส้นอุปสงค์ในกรรณีนี้ จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นลบ ดังรูปต่อไปนี้

3.2 สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Sustitution Goods) เช่น ชากับกาแฟ, โค๊กกับเป็ปซี่, น่ำมันหมูกับน้ำมะนพืช เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าชนิดหนึ่งกะบปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทดแทนกัน จะเป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นหรือลดลง จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งมากขึ้นหรือลดลงตามลำดับ เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันหมูกับปริมาณซื้อน้ำมันพืชได้ดังนี้

เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีค่าความชันเป็นบวก ดังรูปต่อไปนี้



















No comments: