Monday, November 26, 2012

การกำหนดราคาดุลยภาพและกลไกราคา

ราคาดุลยภาพ (EQuilibrium Price) คือ ระดับราคาที่ปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากัน
ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) คือ ปริมาณซื้อและปริมาณขายที่เท่ากันพอดี ณ ราคาดุลยภาพ

ดังนั้นราคาและปริมาณดุลยภาพก็คือ ระดับราคาและปริมารที่เกิดขึ้นตรงจุดที่เส้นอุปสงคืและเส้นอุปทานตัดกันนั่นเอง ซึ่งจะได้รูปดังต่อไปนี้

จากรูปข้างต้น E คือ จุดดุลยภาพ, OP0 คือ ราคาดุลยภาพ  OQ0   คือ ปริมาณดุลยภาพ

นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของกลไกราคาที่จะส่งผลต่อปริมาณซื้อและปริมาณขาย ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ

1. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP1) จะเกิดผลดังนี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P1A
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P1B
         - เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) คือ ช่วง AB ทำให้มีสินค้าเหลือ เพราะขายไม่หมด
2. ถ้าการซื้อขายกระทำกัน ณ ราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ (จาก OP เป็น OP2) จะเกิดผลดงันี้
         - เกิดปริมาณซื้อ คือ P2C
         - เกิดปริมาณเสนอขาย คือ P2D
         - เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) คือ ช่วง CD ทำให้มีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ

การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาสินค้าต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลต้องเข้าไปแทรกแซงทางด้านราคา เพื่อช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงด้วยการกำหนดราคาขั้นสูงให้ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ซึ่งจะทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อมีมากกว่าจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย หรือมีอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) เกิดขึ้นนั่นเอง

ในกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณมากเกิดความต้องการในตลาด จะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง ดังนั้น รัฐบาลจึงช่วยเหลือเกษตรกรหรือปผู้ผลิตด้วยการกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ในระดับที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ หรือราคาตลาดที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการกำหนดค่าจ้างแรงงานให้สูงกว่าค่าจ้างที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อทำให้แรงงานมีอำนาจซื้อมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้ความต้องการจ้างแรงงานลดลง จนทำให้แรงงานล้นตลาดได้ ซึ่งรัฐบาลอาจแก้ไขปัญหานี้ด้วยการพยายามสร้างความต้องการจ้างแรงงาน (Demand on Labour) ให้มากขึ้น โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้
1. อาจให้สิทธิพิเศษบางประเภทแก่ผู้ประกอบการ หากมีการจ้างแรงงานมากขึ้น
2. ติดต่อตลาดแรงงานในต่างประเทศ เพื่อให้รับแรงงานไทยไปทำงานเพิ่มขึ้น
3. ลดปริมารของแรงงานไร้ทักษะด้วยการจัดอบรมฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาให้กลายเป็นแรงงานที่มีทักษะ

  

1 comment:

สุริยะ พิศิษฐอรรถการ said...

เรื่องนี้น่าสนใจ ควรที่จะออกข้อสอบเป็นอย่างยิ่ง....บอกข่าวเล่าแจ้ง